พฤติกรรม Social Distance คนไทย มีอะไรเปลี่ยนไปบ้าง ผ่านวิกฤติ Covid-19

Adisorn Kaewchansilp (Mhee)
2 min readMar 27, 2020

เมื่อกระแส Social Distance เกิดขึ้นทำให้หลายคนต้องอยู่บ้าน คนทำงานต้อง Work form Home เพื่อร่วมมือกันลดเชื้อโควิดที่กำลังระบาด พฤติกรรมการค้นหาและใช้จ่ายของคนไทยเปลี่ยนไปยังไงบ้าง เรามาดูกันครับ

ผู้คนค้นหาสินค้า Delivery พุ่งสูงกว่า 300%

ผู้เขียนคาดการณ์ “คำค้น” ที่ “คนไทย” น่าจะค้นหา จากเครื่องมือ Google Trend ให้เหมาะกับสถานการณ์ปัจจุบัน คำที่มีความจำเป็นสำหรับผู้ที่ทำงานจากที่บ้าน หรือผู้ที่หลีกเลี่ยงการพบปะผู้คน ตามพฤติกรรม Social Distance รักษาระยะห่างทางสังคม

คำนี้เป็นที่นิยมมานาน เพียงแต่ขยายวงกว้างขึ้นเท่านั้น

เมื่อเจาะเข้าไปเราพบอะไร ?

พบว่าแต่ละแบรนด์ได้พยายามเปลี่ยนวิกฤติให้เป็นโอกาสด้วยการออกโปรโมชั่นหรือแคมเปญต่างๆ เช่น การฝากร้านฟรีโดย Influencer แบรนด์ก็เช่นกัน หรือการออกแคมเปญ “ส่งฟรีไม่มีขั้นต่ำ” เพื่อช่วยคนไทยทั้งที่เป็นเจ้าของร้านในห้าง นอกห้าง รายย่อยต่างๆ ที่โดยนโยบายการปิดห้าง ได้มีทางออกให้กับผู้บริโภคมากขึ้น

ที่มาของคำว่า “ยิ่งวิกฤติ ยิ่งต้องทำการตลาด”

ทางฝั่งของ Super Market

เมื่อมาเจาะทางฝั่งสินค้าอุปโภคบริโภค ของใช้ในชีวิตประจำวัน โดยปกติคนเราเดินห้างซื้อของเข้าบ้านประจำ ผู้เขียนก็ไม่ต่ำกว่าอาทิตย์ละ 3 วัน เมื่อมีการปิดห้างเกิดขึ้นจะเห็นได้ว่า แต่ละเจ้า ถูกค้นหาเพิ่มมากขึ้นในช่วงนี้ โดยเฉพาะความกังวลในเรื่องสินค้าขาดตลาด การกักตุนสินค้าต่างๆ คนไทยมีความตื่นตระหนก และพยายามค้นหาซุปเปอร์มาร์เก็ตมากขึ้น

การตลาดเป็นเรื่องมหัศจรรย์

ใช่ครับ!! ที่คิดไว้ไม่มีผิด เพราะเมื่อแคมเปญออนไลน์ที่หลายๆ แบรนด์เปิดตัว ก็แข่งขันกันอย่างดุเดือด แต่จะมีไม่กี่แบรนด์เท่านั้นที่ปังมาก ผู้เขียนพบว่าการสั่งอาหาร Delivery ไม่ใช่เรื่องง่ายอีกต่อไป แม้จะใช้ความพยายามอย่างดุเดือด ก็ไม่อาจสั่งได้ (กดสั่งกว่า 2 ชม. ก็ไม่ติดสายไม่ว่างตลอดเวลา)

การโพสว่าสามารถหาซื้อได้ ก็เป็นไวรัลได้ คนอิจฉาเพียบ!!

สินค้าที่มีความเสี่ยง ที่จะขาดตลาดได้ (แต่จริงๆแล้วไม่)

อาหารสำเร็จรูป ทิชชู่ น้ำดื่ม ปลากระป๋อง มาม่า ฯลฯ เห็นได้ชัดว่าเทรนด์ของคำเหล่านี้ โตขึ้นมากกว่าในช่วงต้นปี เพราะข่าวกักตุนสินค้า ทำให้คนวิตกกังวลว่าจะขาดแคลนและมีการค้นหาเพิ่มขึ้น แต่เราก็ทราบดีว่าบ้านเรายังไม่ได้อยู่ในภาวะขาดแคลนของกินของใช้ที่เข้าขั้นวิกฤติ แต่พฤติกรรมคนไปก่อนเรียบร้อย

Market Place ต่างๆ มีความเคลื่อนไหวน้อย

เทรนด์การค้นหา ฝั่ง E-market ไม่ว่าจะ Shopee หรือ Lazada เป็น E-commerce สองยักษ์ใหญ่ในประเทศไทย จากภาพด้านล่างเทรนด์การค้นหาก็ไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลง แต่จะเห็นได้ชัดว่าอีกเจ้าหนึ่งที่เริ่มทำตลาดอย่าง 7–11 ก็มีการเติบโตอย่างรวดเร็ว ถือเป็นคู่แข่งที่น่ากลัวไม่น้อย (2 เดือนจากต้นปีก็ทะยานเข้ามา)

สินค้าแฟชั่นลดลงอย่างชัดเจน

เมื่อผู้เขียนเห็น Data ทำให้เห็นพฤติกรรมของคนไทยชัดเจนมากขึ้นในฝั่งของ เสื้อผ้า สินค้าแฟชั่น เทรนด์ค่อยๆ ลดลงอย่างเห็นได้ชัด จากความไม่สบายใจในสภาพการณ์ปัจจุบัน ทำให้คนไทยคิดเรื่องการใช้เงินมากขึ้น แบรนด์จึงต้องคิดหาวิธีปรับตัวต่อไป (แม้แต่แบรนด์ที่เป็น Fast Fashion ราคาไม่สูงก็ยังตก)

Entertainment Online สวนกระแสหนังโรง

การดูหนังอยู่กับบ้านเป็นสิ่งที่อาจจะใหม่สำหรับคนไทย แต่ก็ไม่ยากที่จะปรับตัว สังเกตว่า เราเริ่มเลิกเข้าโรงหนังกันแล้ว ภาพเห็นชัดเจนมากอย่างเช่น Netflix , Line TV, AIS PLAY, Viu.com ก็มีการค้นหามาก เพราะคนอยู่บ้านมากขึ้นและทำงานที่บ้านมากขึ้น

สรุป : ข้อมูลเหล่านี้ ได้ทำการสำรวจจากการที่ตัวเองไปเดินห้างเป็นประจำทุกวันตั้งแต่ยังไม่มีวิฤกติ แต่มีวิกฤติก็ไป ^^ เลยสังเกตและได้ลองใช้เครื่องมือที่มีอยู่และหาง่ายอย่าง Google Trend จึงพบว่าพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เราคาดการณ์นั้น ได้เปลี่ยนไปตามสถานการณ์ ซึ่งผลลัพท์ก็เป็นตัวยืนยัน และอาจบ่งชี้ได้ว่า คนไทยเริ่มมีภาวะตระหนักเรื่องข้อมูล การใช้จ่าย การติดตามข่าวสาร ซึ่งเป็นผลกระทบมาจากวิกฤติ Covid-19 ไม่ใช่เฉพาะไทยแต่เป็นทั่วโลก

สุดท้ายนี้ ผู้เขียนหวังว่า วิกฤติครั้งนี้จะเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญอย่างหนึ่ง ที่ช่วยให้ทุกคนสร้างความตระหนักรู้ถึง สภาวะทางสุขภาพ อารมณ์ จิตใจ ให้มั่นคงไม่หวั่นไหว รวมถึงเป็นเวลาที่ดีในการสร้างวินัย ให้คนไทยได้ร่วมมือกันในทุกภาคธุรกิจ และประชาชน และขอให้เราสามารถก้าวผ่านไปได้ และเชื่อว่า…เรากลับมาแข็งแกร่งกว่าเดิมได้อย่างแน่นอน !

อ่านบทความที่น่าสนใจอื่นๆ >> https://daideedigital.com/

มือใหม่หัดเขียนคอนเทนต์ >> 6 ข้อควรทำสำหรับนักทำคอนเทนต์มือใหม่

บล็อกส่วนตัว สอนหาเงินออนไลน์ >> https://thewhitemarketing.com/

--

--